“บินไทย” ปลื้มงบดีเกินคาด กระแสเงินสดพุ่ง 5.1 หมื่นล้านครั้งแรก ลุ้นออกแผนฟื้นฟูไว Q3…
เมื่อวันที่ 11 ส.ค. 66 นายชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAIเปิดเผยว่า ผลการดำเนินงาบริษัทไตรมาส 2 ปี 66 มีรายได้รวม 37,381 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 74% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 2,262 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 171% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยผลประกอบไตรมาส 2 ปี 66 เป็นที่น่าพอใจ สูงว่าเป้าหมายที่ไว้ ซึ่งบริษัทมีผลกำไรติตต่อกันมา 4 ไตรมาส แสดงให้เห็น ความสามารถในการดำเนินงาน และการปรับตัวด้านลดต้นทุน กระบวนการดำเนินงาน การปรับโครงสร้างต่าง ๆ เป็นต้นคำพูดจาก สล็อตวอเลท
“ช่วงไตรมาส 2 เป็นไตรมาสที่ผลประกอบการแย่ที่สุด ทุกปีที่ผ่านมาเป็นโลว์ซีซั่นของสายการบิน ไตรมาส 2 นี้การบินไทยทำกำไรได้ 2 พันกว่าล้านบาท ถือเป็นไตรมาสที่ดีที่สุดในรอบ 20 ปี” นายชาย กล่าว
ทั้งนี้จำนวนผู้โดยสารปัจจุบันปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ 700,000 คนต่อเดือน คาดว่าจะเพิ่มขึ้นตามเป้าหมาย 9 ล้านคนในสิ้นปี 66 ซึ่งส่งผลดีต่อผลประกอบการ คาดว่ามีโอกาสสูงที่จะทำให้มีกำไรแตะระดับ 20,000 ล้านบาทในปีนี้
ขณะที่สิ้นไตรมาส 2 บริษัทมีกระแสเงินสดอยู่จำนวน 51,153 ล้านบาท ถือเป็นครั้งแรกของบริษัทนับตั้งแต่ก่อตั้ง โดยเงินก้อนนี้จะต้องนำไปจ่ายให้กับเจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟูฯ เริ่มตั้งแต่ปี 67 เป็นต้นไป ปีละ 10,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามจากผลดำเนินงานและกระแสเงินสดที่มี บริษัทไม่มีความจำเป็นจะต้องกู้เงิน 25,000 ล้านบาทแล้ว เหลือเพียงการเพิ่มทุนไม่ต่ำกว่า 25,000 ล้านบาท เพื่อทำให้ฐานะการเงินบริษัทแข็งแกร่งมากขึ้น และนำไปลงทุน รวมถึงปรับปรุงเครื่องบิน ซึ่งยังระบุไม่ได้ว่าจะเริ่มระดมได้เมื่อไหร่ ขณะที่ปัจจุบันบริษัทมีหนี้สิ้นทั้งหมดเหลือประมาณ 130,000 ล้านบาท คาดว่าจะชำระหนี้ได้ทั้งหมดภายในปี 74
“การบินไทย” กำไรไตรมาสสอง 2,262 ล้านบาท โตพุ่ง 170% ผู้โดยสารเพิ่มขึ้น
"การบินไทย" ลุยเช่าเครื่องใหม่ 9 ลำ ตั้งเป้าปีนี้โต 40% แย้มออกแผนฟื้นฟูเร็วกว่ากำหนด
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.การบินไทย กล่าวถึงการออกจากแผนฟูกิจการที่เดิมตั้งเป้าหมายไว้ในไตรมาส 4 ปี 67 ว่า ยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะออกได้เร็วกว่านี้หรือไม่ ซึ่งจากผลการดำเนินของบริษัทล่าสุดที่มีกำไรติดต่อกัน 4 ไตรมาส สะท้อนว่าบริษัทสามารถทำได้ตามแผนฟื้นฟู และหากผลการดำเนินดีขึ้นกว่านี้ ก็จะเป็นตัวเร่งที่จะสามารถออกจากแผนฟื้นฟูได้เร็วขึ้นเช่นกัน โดยคาดการณ์ว่าเร็วสุดคือ 1 ไตรมาส หรือ ไตรมาส 3 ปี 67 และกลับเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ไม่เกินช่วงสิ้นปี 67
สำหรับกรณีการจัดเก็บภาษีน้ำมันเครื่องบินที่เพิ่มขึ้น นายชาย มองว่าส่งผลกระทบต่อราคาตั๋วเครื่องบินเส้นทางในประเทศราวหลัก 10-100 บาทเท่านั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละสายการบินว่าจะบริหารจัดการต้นอย่างไร
“ภาษีสรรสามิตรดังกล่าวใช้เฉพาะเส้นทางในประเทศ การบินไทยบินในประเทศน้อยอยู่แล้ว หากมีการปรับโครงสร้างทางธุรกิจเสร็จ สัดส่วนเมื่อเทียบกับไฟล์ทบินต่างประเทศ ก็ยังน้อยอยู่ดี แต่อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแต่ละสายการบิน ว่าจะมีต้นทุนเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ มีการบริหารจัดกรทางด้านน้ำมันมากน้อยขนาดไหน แตกต่างกันไปไปแต่ละสายการบิน” นายชาย กล่าว
ขณะที่การปรับโครงสร้างสายการบินไทยสมายล์ นายชาย ระบุว่า กำลังทยอยนำเครื่องบิน 20 ลำ เข้าประจำการในการบินไทย ซึ่งอยู่ระหว่างขออนุญาตจากหน่วยงานรัฐ คาดว่าสิ้นปี 66 จะเข้าประจำการได้ราว 16 ลำ โดยเครื่องบินฝูงดังกล่าวจะนำไปเสริมในเส้นทางการบินกลุ่มประเทศ CLMV เพื่อรองรับลูกค้ากลุ่มยุโรปที่มาต่อเครื่องบินที่กรุงเทพมหานคร
ส่วนพนักงานไทยสมายล์กว่า 800 คน จะทยอยโอนย้ายเข้าการบินไทย ซึ่งจะทำการคัดกรองก่อน แต่เชื่อว่ามีส่วนน้อยที่ไม่ผ่านการคัดกรอง
ด้านความคืบหน้าโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO) ในสนามบินอู่ตะเภา นายชาย ระบุว่า ทางคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ยังคงให้สิทธิลงทุนกับการบินไทยอยู่ โดยบริษัทกำลังจะจ้างที่ปรึกษาในการศึกษาแผนการลงทุน และรูปแบบธุกิจ คาดว่าใช้เวลาราว 3-4 เดือน ก่อนจะเสนอต่อคณะกรรมการเจ้าหนี้เพื่อให้ความเห็นชอบปรับโครงสร้างการลงทุน
ในส่วนของผู้ร่วมลงทุนรายใหม่ ตอนนี้มีผู้เข้ามาเสนอแล้วเป็นจำนวนมากแต่ยังเปิดเผยไม่ และยังไม่ปิดโอกาสกลับไปร่วมลงทุนกับแอร์บัสที่ถอนการร่วมลงทุน MRO ไปก่อนหน้านี้
“เกณฑ์ที่เรามองโดยเบื้องต้น ต้องเป็นคนที่สามารถมาช่วยเหลืออะไรให้กับการบินไทย ในสิ่งที่การบินไทยไม่มี ถามว่าเรามีประสบการณ์ เรามีพนักงาน เรามีความรู้ในการดำเนินของเรา แต่สิ่งที่เราขาดอยู่ คือ การบริหารที่เป็นเอกเทศ ในมุมของ MRO ที่เปิดมาเพื่อรับลูกค้าภายนอกจริง ๆ มาด้วยระบบบริหารต้นทุนได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นสิ่งที่เราคิดว่าคนที่จะร่วมเป็นพันะมิตรกับเราก็ต้องมีสิ่งเหล่านี้” นายชาย กล่าว